วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 17 เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 10

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ                           
ทักษะการช่วยเหลือ
             เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุดการกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
-                   เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง  อย่างเช่นเรื่องพื้นฐานเล็กๆน้อยในชีวิตประจำวัน เช่น การผูกเชือกร้องเท้า การติดกระดุม
-                    อยากทำงานตามความสามารถ
-                   เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่ เด็กจะเกิดการเรียนรู้จากการดูตัวอย่าง เช่นเด็กเห็นพี่ผูกเชือกร้องเท้า เด็กจะสังเกตและทำตาม และเมื่อเด็กทำได้เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจมาก

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-                   การได้ทำด้วยตนเอง เช่น การผูกเชือกร้องเท้าถ้าเด็กทำได้ด้วยตนเองเขาจะรุ้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่เขาทำว่าสำเร็จ
-                   เชื่อมั่นในตนเอง
-                   เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
-                   ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-                    ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป ในที่นี้คือสิ่งที่ผู้ใหญ่มองว่าเด็กทำได้ก็ไม่ควรจะทำให้เด็กมากเกินไป
-                   ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-                   หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
-                   เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
-                   หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-                   เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
-                   มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-                   แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-                   เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม การย่อยงาน
-                    เข้าไปในห้องส้วม
-                   ดึงกางเกงลงมา
-                    ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-                   ปัสสาวะหรืออุจจาระ                                                                         
-                    ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-                    ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-                    กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-          ดึงกางเกงขึ้น
                                                              
                                                                กิจกรรมหลังเรียน
เป็นกิจกรรมที่ใช้วัดระดับความคิดและจิตใจของเด็ก

 1. หยิบสีที่ชอบกี่สีก็ได้มาวาดเป็นวงกลมขนาดเล็กใหญ่ตามที่ต้องการ


2.วาดเสร็จแล้ว...ความหมายคือเป็นคนที่เจิดจ้า เป็นคนที่มีการวางแผนและคิดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น


3.ต้นไม้ของพวกเราวางได้สามัคคีกันมากเลยน่ะกลุ่มของพวกเรา



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-  เน้นสิ่งที่ให้เด็กทำได้ด้วยตนเอง ช่วยเหลือตนเองได้ และมีอิสระ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจเชื่อมั่นในตนเอง
- ส่งเสริมพัฒนาการการช่วยเหลือตนเองของเด็กพิเศษได้อย่างถูกวิธี
- ย่อยงานให้เด็กได้อย่างถุกต้อง
- ให้เด็กเห็นกระบวนการการช่วยเหลือตนเอง

ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูดและจดเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน  ส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนมีคุยกันบ้างนิดหน่อย แต่ก็ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเป็นไปด้วยความสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนเป็นกิจกรรมที่สนุกดีค่ะ อาจารย์อธิบายเนื้อหาพร้อมยกตัวอย่างประกอบดีมากค่ะทำให้เห็นภาพและเข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้นค่ะ


วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 10 เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 9

ความรู้ที่ได้รับ
“การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ (ต่อ)”
“ทักษะภาษา”
1.              การวัดความสามารถทางภาษา
-                   เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-                   ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-                   ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-                   บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-                   ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
2.              การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
-                   การพูดตกหล่น
-                   การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-                   ติดอ่าง
3.              การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-                   ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-                   ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด
-                   อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-                   อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-                   ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-                   เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
4.              ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-                   ทักษะการรับรู้ภาษา
-                   การแสดงออกทางภาษา
-                   การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
5.              พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา

6.              พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก



        
7.              ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-                   การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-                   ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-                   ให้เวลาเด็กได้พูด
-                   คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-                   เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-                   เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-                   ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-                   กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-                   เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-                   ใช้คำถามปลายเปิด
-                   เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไร ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-                   ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

8.              การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental  Teaching)

กิจกรรมหลังเรียน "ศิลปะบำบัด"
วัสดุ/อุปกรณ์
1. กระดาษ
2.สีเทียน

วิธีดำเนินการ
1. จับคู่กับเพื่อนเหมือนสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์แจกวัสดุอุปกรณ์พร้อมกับทำข้อตกลงว่า จะเปิดเพลงให้ฟังแล้วให้ช้วยกัยวาดเส้นตรงลงไปบนกระดาษจะตรงหรือหักยังไงก็ได้ขอให้เป็นเส้นตรงและห้ามยกมือขึ้นให้ลากต่อไปเรื่อยจนเพลงหยุด
2. จากนั้นให้ระบายสีช่องที่ปิด ช่องที่เส้นทับกัน

ผลงานของเพื่อนๆ


*** เด็กได้อะไรจากการทำกิจกรรมนี้ หลักๆเลยกิจกรรมนี้จะช่วยฝึกสมาธิให้กับเด็ก เด็กได้มีการแสดงออกทางความคิดอย่างสร้างสรรค์และได้ในเรื่องมิติสัมพันธ์การทำงานประสานกันระหว่างมือและตา
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-  การที่จะเข้าไปช่วยเหลือเด็กเมื่อรู้ว่าเด็กทำไม่ได้ เราไม่ควรเข้าไปช่วยโดยทันทีแต่ควรให้เด็กพูดว่าต้องการให้ช่วยอะไรหรือถ้าเด็กยังพูดไม่ได้ ก็ควรสอนเด็กย้ำประโยคที่เด็กต้องการจะสื่อให้เรารู้ 
-  ย้ำคำศัพท์หรือประโยคให้เด็กพิเศษพูดตาม
-  ประเมินเด็กพฤติกรรมการตอบสนองทางภาษาของเด็กได้อย่างถูกต้องในอนาคต

ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย แอบงีบหลับนิดนึง แต่วันนี้เข้าห้องมาก็ตกใจนิดหน่อยนึกว่าตัวเองเข้าห้องผิดเพราะไม่คุ้นหน้าเพื่อน วันนี้เรียนรวมกับเพื่อนกลุ่มอื่นรู้สึกแปลกๆนิดนึงและในห้องรู้สึกว่ามีการคุยกันเสียงดังมากแต่การเรียนการสอนก็สนุกดีค่ะ ได้เห็นพฤติกรรมของเพื่อนอีกกลุ่มนึงด้วย
ประเมินเพื่อน  วันนี้ส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย คุยกันเสียงดังมากอาจารย์เสียงเบาไปเลย
แต่ว่าก็ได้บรรยากาศในการเรียนใหม่คือสนุกสนานมากกว่าเดิม
ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา และมีเรื่องมาเล่าให้ฟังก่อนเรียนทำให้เริ่มการเรียนการสอนด้วนความสนุกสนาน อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เข้าใจง่ายดีค่ะยกตัวอย่างทำให้มองเห็นภาพ แต่วันนี้อาจารย์คงเหนื่อยมากๆเพราะต้องสอนและต้องคอยปรามพวกหนูไม่ให้คุยเสียงดัง พวกหนูต้องขอโทษด้วยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 3 เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 8

ความรู้ที่ได้รับ
“การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ”
ทักษะทางสังคม(เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กพิเศษ)
-         ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-         การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
-         การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-         ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
-         เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร   ( เด็กจะดูเพื่อนเลียนแบบเพื่อน )
-         ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ(เมื่อครูเห็นอะไรก็ควรจะบันทึกไว้อย่าให้พลาดเพราะสิ่งเหล่านี้จะนำมาเขียนแผน IEP)
-         จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
-         ครูจดบันทึก
-         ทำแผน IEP (แผนเฉพาะบุคคล ไม่ใช่แผนที่ทำให้กับเด็กพิเศษเท่านั้น เด็กปกติก็สามารถทำได้)
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-         ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน โดยจะแบ่งอัตตรา 1ต่อ3 คือในนกลุ่มเด็กปกติ 3 คนให้มีเด็กพิเศษเข้าร่วมเล่นด้วย 1 คน
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
-         เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น ให้ได้จำนวนครึ่งหนึ่งของเด็ก   ห้ามเกินครึ่ง

กิจกรรมหลังเรียน “ศิลปะบำบัด”
วัสดุอุปกรณ์
    1.กระดาษ
    2.สีเทียน
 วิธีดำเนินการ
      1.ให้นักศึกษาจับคู่กันครูแจกกระดาษให้1 แผ่น และให้หยิบสีเทียนคนละหนึ่งแท่งเอาสีที่ตัวเองชอบ ครูทำข้อตกลงว่าให้เพื่อน 1 คนวาดเส้นแบบไหนก็ได้ตามจังหวะดนตรีที่ได้ยินและอีกคนคอยวาดจุดวงกลมบนเส้นที่ตัดกันที่เป็นช่องว่าง


     2. วาดเสร็จให้ช่วยกันมองว่าเส้นที่มันทับกันมันเป็นรูปอะไรบ้าง


     3. วาดรูปตามที่ตัวเองคิดตามจินตนาการ


 ผลงานเพื่อนๆ


        เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า  บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน

เพลง ดอกมะลิ
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ

เพลง กุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลง นกเขาขัน
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู     จุ๊กกรู   จุ๊กกรู   จุ๊กกรู  จุ๊กกรู

เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
                                                                          หอมกลิ่นชื่นใจ  จริงเอย 

ผู่แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ  แจ่มถิน

ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจจดเนื้อหาที่มีเพิ่มเติมและมีความสนุกสนานในการเรียน
ประเมินเพื่อน ส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา คุยกันบ้างเล็กน้อย และเพื่อนร่วมกันตอบคำถามและทำกิจกรรมตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี
 ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียนสนุกมากๆค่ะกิจกรรมหลังเรียนก็สนุกค่ะอธิบายเนื้อหาที่เข้าใจง่ายและยกตัวอย่างทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ