วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 10 เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 9

ความรู้ที่ได้รับ
“การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ (ต่อ)”
“ทักษะภาษา”
1.              การวัดความสามารถทางภาษา
-                   เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-                   ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-                   ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-                   บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-                   ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
2.              การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
-                   การพูดตกหล่น
-                   การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-                   ติดอ่าง
3.              การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-                   ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-                   ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด
-                   อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-                   อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-                   ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-                   เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
4.              ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-                   ทักษะการรับรู้ภาษา
-                   การแสดงออกทางภาษา
-                   การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
5.              พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา

6.              พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก



        
7.              ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-                   การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-                   ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-                   ให้เวลาเด็กได้พูด
-                   คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-                   เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-                   เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-                   ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-                   กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-                   เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-                   ใช้คำถามปลายเปิด
-                   เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไร ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-                   ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

8.              การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental  Teaching)

กิจกรรมหลังเรียน "ศิลปะบำบัด"
วัสดุ/อุปกรณ์
1. กระดาษ
2.สีเทียน

วิธีดำเนินการ
1. จับคู่กับเพื่อนเหมือนสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์แจกวัสดุอุปกรณ์พร้อมกับทำข้อตกลงว่า จะเปิดเพลงให้ฟังแล้วให้ช้วยกัยวาดเส้นตรงลงไปบนกระดาษจะตรงหรือหักยังไงก็ได้ขอให้เป็นเส้นตรงและห้ามยกมือขึ้นให้ลากต่อไปเรื่อยจนเพลงหยุด
2. จากนั้นให้ระบายสีช่องที่ปิด ช่องที่เส้นทับกัน

ผลงานของเพื่อนๆ


*** เด็กได้อะไรจากการทำกิจกรรมนี้ หลักๆเลยกิจกรรมนี้จะช่วยฝึกสมาธิให้กับเด็ก เด็กได้มีการแสดงออกทางความคิดอย่างสร้างสรรค์และได้ในเรื่องมิติสัมพันธ์การทำงานประสานกันระหว่างมือและตา
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-  การที่จะเข้าไปช่วยเหลือเด็กเมื่อรู้ว่าเด็กทำไม่ได้ เราไม่ควรเข้าไปช่วยโดยทันทีแต่ควรให้เด็กพูดว่าต้องการให้ช่วยอะไรหรือถ้าเด็กยังพูดไม่ได้ ก็ควรสอนเด็กย้ำประโยคที่เด็กต้องการจะสื่อให้เรารู้ 
-  ย้ำคำศัพท์หรือประโยคให้เด็กพิเศษพูดตาม
-  ประเมินเด็กพฤติกรรมการตอบสนองทางภาษาของเด็กได้อย่างถูกต้องในอนาคต

ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย แอบงีบหลับนิดนึง แต่วันนี้เข้าห้องมาก็ตกใจนิดหน่อยนึกว่าตัวเองเข้าห้องผิดเพราะไม่คุ้นหน้าเพื่อน วันนี้เรียนรวมกับเพื่อนกลุ่มอื่นรู้สึกแปลกๆนิดนึงและในห้องรู้สึกว่ามีการคุยกันเสียงดังมากแต่การเรียนการสอนก็สนุกดีค่ะ ได้เห็นพฤติกรรมของเพื่อนอีกกลุ่มนึงด้วย
ประเมินเพื่อน  วันนี้ส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย คุยกันเสียงดังมากอาจารย์เสียงเบาไปเลย
แต่ว่าก็ได้บรรยากาศในการเรียนใหม่คือสนุกสนานมากกว่าเดิม
ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา และมีเรื่องมาเล่าให้ฟังก่อนเรียนทำให้เริ่มการเรียนการสอนด้วนความสนุกสนาน อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เข้าใจง่ายดีค่ะยกตัวอย่างทำให้มองเห็นภาพ แต่วันนี้อาจารย์คงเหนื่อยมากๆเพราะต้องสอนและต้องคอยปรามพวกหนูไม่ให้คุยเสียงดัง พวกหนูต้องขอโทษด้วยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น