วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 28 เดือนเมษายน  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 15

***วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของเทอมนี้ มีการสอบร้องเพลงทีละคนโดยออกไปจับฉลากเลือกเพลงและแจกรางวัลเด็กดี***
เพลงที่จับฉลากได้คือเพลง...
เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย  เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา  เลี้ยงแมว  ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า  บ๊อก  บ๊อก แมวก็ร้อง  เมี๊ยว  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา  วัวร้อง  มอ  มอ (ซ้ำ*)


ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง แต่งกายเรียบร้อย แต่เข้าห้องเรียนสายไปนิด การร้องเพลงยังไม่มีความพร้อมเท่าไรเพราะจับฉลากได้เพลงที่ไม่ถนัด จำเนื้อไม่ได้ ทำนองก็ไม่ได้ แต่อาจารย์ก็แน่ะนำและมีการยืดหยุ่นให้แต่หนูจะปรับปรุงและพัฒนาตัวเองให้ร้องให้ดีกว่านี้ค่ะ

ประเมินเพื่อน แต่งกายเรียบร้อย เข้าห้องเรียนตรงเวลา มีความพร้อมในการร้องเพลงและทำได้ดีมากๆ

ประเมินอาจารย์  ในเทอมนี้วิชานี้เป็นการเรียนที่มีความสุขมากๆค่ะ อาจารย์คอยเอาใจใส่นักศึกษาคอยให้คำปรึกษาและแนะนำมีความเป็นเองกับนักศึกษา ขอบคุณมากๆค่ะ




วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 21 เดือนเมษายน  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 14


ความรู้ที่ได้รับ 
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
แผน IEP
-                   แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-                   เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-                   ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-                   โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
-                   คัดแยกเด็กพิเศษ
-                   ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-                   ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-                   เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-                   แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
-                   ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-                   ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-                   การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-                   เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-                   ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-                   วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
-                   ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-                   ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-                   ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-                   ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
-                   เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-                   เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-                   ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-                   เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-                   ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-                   ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-                   ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-                   เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
-    รายงานทางการแพทย์
-    รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-    บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
 -  ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-   กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น
-   กำหนดโปรแกรม และกิจกรรม
-   จะต้องได้รับการรับรอง แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
 การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว >> กำหนดให้ชัดเจน กว้างๆ
การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น >> ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
 3. การใช้แผน
 - เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
 - นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
 - แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
 - จัดเตรียมสื่อ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
 - ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็ก โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2. ตัวชี้วัดพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
 - โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง หรือย่อยกว่านั้น 
 - ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
*** กิจกรรมพิเศษ *** อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพื่อน 1 คนเป็นเด็กพิเศษ ช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล( IEP)

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-  ในการเขียนแผน IEP เราต้องศึกษาพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างดีก่อนที่จะลงมือเขียนแผน เพื่อที่เราจะได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- การเขียนแผน IEP เป็นแนวการสอนที่ทำให้ครูมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการสอนหรือจัดกิจกรรม
- การเขียนแผน IEP เราต้องทำงานร่วมกับผู้ปกครองทำให้เราได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนวทางที่จะพัฒนาเด็ก

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนจดเนื้อหาเพิ่มเติมเพื่อทำให้ตัวเองเข้าใจ มีความรู้สึกว่าการเขียนแผน IEP นั้นง่ายกว่าการเขียนแผนปกติแต่เราต้องเข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างดี การเรียนวันนี้นั่งเรียนแบบสบายชิลๆค่ะ

ประเมินเพื่อน  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนมีคุยกันบ้างนิดหน่อย และช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแผนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีกิจกรรมมาทำให้นักศึกษาผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียนและบรรยายเนื้อหาที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่าย บรรยากาศในการเรียนการสอนมีความสนุกสนานและเป็นกันเอง





เทศกาลสงกานต์


***ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดเทศกาลสงกานต์***




วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 7 เดือนเมษายน  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 13

(สัปดาห์นี้ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากพาน้องไปธุระ แต่ก็ได้ศึกษาเนื้อหาในชีทที่อาจารย์ส่งมาให้แล้ว)
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะพื้นฐานการเรียน
เป้าหมาย
-                   เด็กต้องกล้าที่จะทำอะไรมากขึ้น  ทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาสามารถทำได้ช่วงความสนใจ
-                   ต้องมีการเรียนรู้อื่นๆ
-                   จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
(เด็กพิเศษช่วงความสนใจจะสั้นมากประมาณ 1 นาที นานสูงสุด 3นาที)
การเลียนแบบ
-                   บุคคลที่เด็กชอบเลียนแบบคือเพื่อน รุ่นพี่ ครู
-                   การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-                   ครูไม่ควรพูดเร็วเกินไปเพราะเด็กพิเศษอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการฟัง
-                   ครูควรเรียกชื่อเด็กก่อนเสมอและให้เด็กหันมามองก่อนแล้วค่อยสั่ง
-                   การวางแผนการเตรียมพื้นฐานด้านวิชาการ
-                   ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าตองทำที่ไหน

-                   ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย

บันทึอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 31 เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 12


***อาทิตย์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ให้ทุกคนไปช่วยกันทำอุปกรณ์งานกีฬาสี***


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 31 เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 11


อาทิตย์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาทิตย์นี้อาจารย์ผู้สอนสอบเก็บคะแนน10คะแนน โดยเป็นเรื่องทั้งหมดที่เรียนมาในเทมอนี้  ข้อสอบมีด้วยกันทั้งหมด 5 ข้อ


วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 17 เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 10

ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ                           
ทักษะการช่วยเหลือ
             เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุดการกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
-                   เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง  อย่างเช่นเรื่องพื้นฐานเล็กๆน้อยในชีวิตประจำวัน เช่น การผูกเชือกร้องเท้า การติดกระดุม
-                    อยากทำงานตามความสามารถ
-                   เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่ เด็กจะเกิดการเรียนรู้จากการดูตัวอย่าง เช่นเด็กเห็นพี่ผูกเชือกร้องเท้า เด็กจะสังเกตและทำตาม และเมื่อเด็กทำได้เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจมาก

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-                   การได้ทำด้วยตนเอง เช่น การผูกเชือกร้องเท้าถ้าเด็กทำได้ด้วยตนเองเขาจะรุ้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่เขาทำว่าสำเร็จ
-                   เชื่อมั่นในตนเอง
-                   เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
-                   ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-                    ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป ในที่นี้คือสิ่งที่ผู้ใหญ่มองว่าเด็กทำได้ก็ไม่ควรจะทำให้เด็กมากเกินไป
-                   ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-                   หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
-                   เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
-                   หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-                   เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
-                   มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-                   แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-                   เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม การย่อยงาน
-                    เข้าไปในห้องส้วม
-                   ดึงกางเกงลงมา
-                    ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-                   ปัสสาวะหรืออุจจาระ                                                                         
-                    ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-                    ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-                    กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-          ดึงกางเกงขึ้น
                                                              
                                                                กิจกรรมหลังเรียน
เป็นกิจกรรมที่ใช้วัดระดับความคิดและจิตใจของเด็ก

 1. หยิบสีที่ชอบกี่สีก็ได้มาวาดเป็นวงกลมขนาดเล็กใหญ่ตามที่ต้องการ


2.วาดเสร็จแล้ว...ความหมายคือเป็นคนที่เจิดจ้า เป็นคนที่มีการวางแผนและคิดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น


3.ต้นไม้ของพวกเราวางได้สามัคคีกันมากเลยน่ะกลุ่มของพวกเรา



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-  เน้นสิ่งที่ให้เด็กทำได้ด้วยตนเอง ช่วยเหลือตนเองได้ และมีอิสระ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจเชื่อมั่นในตนเอง
- ส่งเสริมพัฒนาการการช่วยเหลือตนเองของเด็กพิเศษได้อย่างถูกวิธี
- ย่อยงานให้เด็กได้อย่างถุกต้อง
- ให้เด็กเห็นกระบวนการการช่วยเหลือตนเอง

ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูดและจดเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อน  ส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนมีคุยกันบ้างนิดหน่อย แต่ก็ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเป็นไปด้วยความสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเรียนเป็นกิจกรรมที่สนุกดีค่ะ อาจารย์อธิบายเนื้อหาพร้อมยกตัวอย่างประกอบดีมากค่ะทำให้เห็นภาพและเข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้นค่ะ