วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 10 เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 5

ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนเรียนวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมที่สนุกมาให้ทำโดยที่อาจารย์ได้แจกถุงมือให้นักศึกษาคนละ 1 ข้างให้สวมเข้าไปกับมือข้างที่ไม่ถนัดแล้วให้วาดภาพมือตัวเองว่าเรารู้จักมือเรามากแค่ไหน ได้ผลงานดังนี้

และเชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาคือ เมื่อเปรียบมือเรากับเด็กที่อยู่กับเราตลอดเวลา เราต้องบันทึกพฤติกรรมที่เห็นทันที บันทึกจากสิ่งที่เห็นตอนนั้นจะทำให้บันทึกมีความเป็นจริงมากที่สุด การบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษต้องเพ่งไว้แล้วบันทึกพฤติกรรมตอนนั้นเลย

เนื้อหาที่เรียนวันนี้....การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ  มองเด็กทุกคนเป็นเด็กน้อยที่น่ารัก เวลาสอนให้มองไปรอบๆ อย่ามองแต่เด็กพิเศษเพียงคนเดียว ถ้ามองก็มองได้เป็นช็อตๆ
การฝึกเพิ่มเติม
-                   อบรมระสั้น,สัมมนา
-                   สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
-                   มองเด็กทุกคนให้เหมือนกัน
-                   จำเด็กให้ได้ทุกคน
-                   มองเด็กให้เป็น “เด็ก”
การคัดแยกเด็กที่มรพัฒนาการช้า
-                   การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
-                   การคุยกับครูข้างห้องพยายามพูดด้านดีของเด็กให้ฟัง
ความพร้อมของเด็ก
-                   วุฒิภาวะ
-                   แรงจูงใจ เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันฉะนั้นครูต้องรู้จักโน้มน้าวเด็ก
-                   โอกาส เด็กแต่ละคนมีโอกาสในการเรียนแตกต่างกันที่จะเรียนรู้ ครูมีหน้าที่ทำให้ขีดจำกัดในการเรียนรู้ของเด็กมีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การสอนโดยบังเอิญ 
-                   ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-                   ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก เพราะเด็กอาจจะเข้ามาช่วงไหนของวัน ห้ามรำคาญเด็ก บางครั้งเดเด็กกเด็กอาจจะเข้ามาหาครูด้วยปัญหาเดิมๆ
-                   ครูต้องมีความสนใจเด็ก
-                   มีความจริงใจที่จะช่วยเหลือเด็ก
-                   ทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
-                   ใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน ต้องแบ่งเวลาให้ดี อย่าสนใจเด็กคนเดียว ต้องดูเด็กให้ทั่วถึง
-                   จะเกิดในช่วงที่เด็กว่างเด็กจะเข้ามาถามครูตัวอย่างเช่น ชั่วโมงศิลปะบางครั้งเด็กพูดไม่ได้ครูจะให้คำตอบเด็ก
-                   ยิ่งเด็กเข้าหาครูมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
-                   ครุที่เด็กจะเข้าหาบ่อยๆคือครูที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกเชื่อใจ อุ่นใจ และปลอดภัย
อุปกรณ์
-                   มีลักษณะง่ายๆ
-                   ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-                   เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
-                   การเล่นแบบคู่ขนาน เด็กจะสังเกตการณ์เล่นจากเด็กที่เก่งและเลียนแบบเด็กเก่งก็จะช่วยเด็กพิเศษเล่นช่วยสอน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
-                   สื่อที่เหมาะกับเด็กพิเศษไม่มีวิธีการเล่นที่ตายตัว เช่นบล็อก
ตารางประจำวัน
-                   เป็นตารางที่เด็กคาดเดาได้
-                   เด็กรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
-                   คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
-                   การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-                   ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
-                   ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
-                   ใจกว้าง รับฟังคำแนะจากบุคคลสายอาชีพอื่นๆ
การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้ เด็กพิเศษไม่ได้ไร้ความสามารถในการเรียน ทำให้เด็กขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่  ชม กอด ลูบหัว ยิ่งชมยิ่งให้กำลังใจเด็กจะทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมด้านที่ดี หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
 วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
-                   ตอบสนองด้วยวาจา
-                   การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
-                   พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
-                   สัมผัสทางกาย
-                   ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-                   ต้องให้ทันทีเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ดี ทำเฉพาะตอนที่เด็กแสดงพฤติกรรม
-                   ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
-                   ย่อยงานเป็นขั้นตอน
-                   การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-                   สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-                   วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยงานแต่ละชิ้น
-                   สอนจากง่ายไปยาก
-                   ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
-                   ลดการบอกบท  เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
-                   ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
-                   ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น”
-                   ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
-                   แบ่งพอดีไม่นานจนเกินไป
ความต่อเนื่องของเนื้อหากิจกรรม
-                   สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
(เริ่มจากขั้นตอนแรกให้เด็กทำก่อนทีละขั้นไปเรื่อยๆค่อยสอน)
การลดหรือหยุดแรงเสริม
-                   ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-                   ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-                   เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
-                   เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
-                   ต้องอุทิศเวลาที่มีทั้งหมด (มีความกระตือรือร้น)

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-                  ปรับทัศนคติของตนเองให้มองเด็กน่ารักทุกคนมองเด็กให้เป็นภาพรวมไม่เพ่งเล็งเด็กพิเศษ
-                  ต้องมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือเด็กไม่รำคาญเด็กแม้เด็กจะเข้ามาขอความช่วยเหลือด้วยปัญหาซ้ำๆ
-                  สามารถให้แรงเสริมเด็กได้อย่างถูกวิธี
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจจดเนื้อหาที่มีเพิ่มเติมและมีความสนุกสนานในการเรียน
ประเมินเพื่อน ส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา คุยกันบ้างเล็กน้อย และเพื่อนร่วมกันตอบคำถามและทำกิจกรรมตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา วันนี้เนื้อหาเยอะไปนิดนึงทำให้รีบอธิบายแต่การเรียนการสอนก็เป็นไปด้วยความสนุกนานดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น