วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผุ้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 27 มกราคม พ.ศ.2558 ครั้งที่ 3


ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้เรียนเรื่อง “บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม” แต่ก่อนเรียนอาจารย์มีกิจกรรมให้ทำให้วาดภาพเหมือนจริงของดอกทานตะวันโดยอาจารย์ย้ำว่าต้องวาดให้เหมือนจริงมากที่สุด...

ผลงานของหนู....
 


พอทำเสร็จอาจารย์ให้บอกความรู้สึกขณะที่วาดดอกทานตะวันว่าเห็นอะไรในภาพบ้าง "หนูได้อธิบายว่าเห็นภาพนี้แล้วรู้สึกสดชื่น สดใส มีกำลังใจพร้อมที่จะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ" จากนั้นอาจารย์ก็เชื่อมโยงกิจกรรมเข้ากับเรื่องที่สอนโดยบอกว่าในการสังเกตเด็กเราไม่ควรใส่ความรู้สึกของเราลงไปบันทึกพฤติกรรมเด็กตามที่เราเห็น 
เข้าสู่เนื้อหาวันนี้......

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
- การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
- ยกหน้าที่ให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
   จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เด็กจะเกิดปมด้อยและเกิดคำถามในใจว่าทำไมครูไม่เรียกชื่อเราเหมือนเพื่อนคนอื่น

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
พ่อแม่ของเด็ก มักจะทราบว่าลูกของเขามีปัญหา ไม่ต้องการให้มาย้ำในสิ่งที่เขารู้แล้ว ตัวครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก ควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะพัฒนา และห้ามเอาจุดด้อยของเด็หไปบอกพ่อแม่

ครูทำอะไรบ้าง
 ที่สำคัญๆ คือ สังเกตเด็กอย่างมีระบบและจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
  ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครูเพราะครุนั้นอยู่กับเด็กทั้งวันทุกๆวันซึ่งต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ้งสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรพึงระวัง
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
   - ลำดับความสำคัญให้ดี
   - เลือกความสำคัญของปัญหาที่พบเด็กและแก้ให้ตรงจุด
   - อย่าจี้เด็กทุกเรื่อง
   - เรื่องที่มองข้ามได้คำพฤติกรรมที่เด็กไม่ได้ทำประจำ
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
1.การนับอย่างง่ายๆ
   นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละวัน ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
2. การบันทึกต่อเนื่อง(มีคุณภาพมากที่สุด)
  ให้รายละเอียดได้มาก ทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีบันทึกแบบบรรยาย บันทึกตามสภาพจริง 
3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ความเอาใจใสถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป้นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเขาหรือไม่ 

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- นำบทบาทของครูที่ได้ความรู้ในวันนี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องในอนาคต
- การสังเกิดเด็กต้องสังเกตตามสภาพจริงไม่ควรใส่ความรุ้สึกของเราลงไป

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลาและต้องใจวาดรูปทำกิจกรรม ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและจดความรู้เพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน  ส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา คุยกันบ้างบางกลุ่มแต่เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ มีการเชื่อมโยงกิจกรรมเข้ากับเนื้อหาดีค่ะ ทำให้การเรียนไม่เครียดสนุก และเนื้อหาก็เข้าใจง่ายอยากให้อาจารย์หากิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำก่อนเรียนเนื้อหาอีกค่ะเพราะมันเหมือนการผ่อนคลายสมองก่อนเตรียมรับความรู้ดีค่ะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น