วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 10 เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 5

ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนเรียนวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมที่สนุกมาให้ทำโดยที่อาจารย์ได้แจกถุงมือให้นักศึกษาคนละ 1 ข้างให้สวมเข้าไปกับมือข้างที่ไม่ถนัดแล้วให้วาดภาพมือตัวเองว่าเรารู้จักมือเรามากแค่ไหน ได้ผลงานดังนี้

และเชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาคือ เมื่อเปรียบมือเรากับเด็กที่อยู่กับเราตลอดเวลา เราต้องบันทึกพฤติกรรมที่เห็นทันที บันทึกจากสิ่งที่เห็นตอนนั้นจะทำให้บันทึกมีความเป็นจริงมากที่สุด การบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษต้องเพ่งไว้แล้วบันทึกพฤติกรรมตอนนั้นเลย

เนื้อหาที่เรียนวันนี้....การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ  มองเด็กทุกคนเป็นเด็กน้อยที่น่ารัก เวลาสอนให้มองไปรอบๆ อย่ามองแต่เด็กพิเศษเพียงคนเดียว ถ้ามองก็มองได้เป็นช็อตๆ
การฝึกเพิ่มเติม
-                   อบรมระสั้น,สัมมนา
-                   สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
-                   มองเด็กทุกคนให้เหมือนกัน
-                   จำเด็กให้ได้ทุกคน
-                   มองเด็กให้เป็น “เด็ก”
การคัดแยกเด็กที่มรพัฒนาการช้า
-                   การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
-                   การคุยกับครูข้างห้องพยายามพูดด้านดีของเด็กให้ฟัง
ความพร้อมของเด็ก
-                   วุฒิภาวะ
-                   แรงจูงใจ เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันฉะนั้นครูต้องรู้จักโน้มน้าวเด็ก
-                   โอกาส เด็กแต่ละคนมีโอกาสในการเรียนแตกต่างกันที่จะเรียนรู้ ครูมีหน้าที่ทำให้ขีดจำกัดในการเรียนรู้ของเด็กมีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การสอนโดยบังเอิญ 
-                   ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-                   ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก เพราะเด็กอาจจะเข้ามาช่วงไหนของวัน ห้ามรำคาญเด็ก บางครั้งเดเด็กกเด็กอาจจะเข้ามาหาครูด้วยปัญหาเดิมๆ
-                   ครูต้องมีความสนใจเด็ก
-                   มีความจริงใจที่จะช่วยเหลือเด็ก
-                   ทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
-                   ใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน ต้องแบ่งเวลาให้ดี อย่าสนใจเด็กคนเดียว ต้องดูเด็กให้ทั่วถึง
-                   จะเกิดในช่วงที่เด็กว่างเด็กจะเข้ามาถามครูตัวอย่างเช่น ชั่วโมงศิลปะบางครั้งเด็กพูดไม่ได้ครูจะให้คำตอบเด็ก
-                   ยิ่งเด็กเข้าหาครูมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
-                   ครุที่เด็กจะเข้าหาบ่อยๆคือครูที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกเชื่อใจ อุ่นใจ และปลอดภัย
อุปกรณ์
-                   มีลักษณะง่ายๆ
-                   ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-                   เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
-                   การเล่นแบบคู่ขนาน เด็กจะสังเกตการณ์เล่นจากเด็กที่เก่งและเลียนแบบเด็กเก่งก็จะช่วยเด็กพิเศษเล่นช่วยสอน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
-                   สื่อที่เหมาะกับเด็กพิเศษไม่มีวิธีการเล่นที่ตายตัว เช่นบล็อก
ตารางประจำวัน
-                   เป็นตารางที่เด็กคาดเดาได้
-                   เด็กรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
-                   คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
-                   การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-                   ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
-                   ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
-                   ใจกว้าง รับฟังคำแนะจากบุคคลสายอาชีพอื่นๆ
การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้ เด็กพิเศษไม่ได้ไร้ความสามารถในการเรียน ทำให้เด็กขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่  ชม กอด ลูบหัว ยิ่งชมยิ่งให้กำลังใจเด็กจะทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมด้านที่ดี หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
 วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
-                   ตอบสนองด้วยวาจา
-                   การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
-                   พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
-                   สัมผัสทางกาย
-                   ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-                   ต้องให้ทันทีเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ดี ทำเฉพาะตอนที่เด็กแสดงพฤติกรรม
-                   ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
-                   ย่อยงานเป็นขั้นตอน
-                   การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-                   สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-                   วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยงานแต่ละชิ้น
-                   สอนจากง่ายไปยาก
-                   ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
-                   ลดการบอกบท  เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
-                   ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
-                   ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น”
-                   ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
-                   แบ่งพอดีไม่นานจนเกินไป
ความต่อเนื่องของเนื้อหากิจกรรม
-                   สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
(เริ่มจากขั้นตอนแรกให้เด็กทำก่อนทีละขั้นไปเรื่อยๆค่อยสอน)
การลดหรือหยุดแรงเสริม
-                   ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-                   ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-                   เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
-                   เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
-                   ต้องอุทิศเวลาที่มีทั้งหมด (มีความกระตือรือร้น)

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-                  ปรับทัศนคติของตนเองให้มองเด็กน่ารักทุกคนมองเด็กให้เป็นภาพรวมไม่เพ่งเล็งเด็กพิเศษ
-                  ต้องมีความพร้อมที่จะช่วยเหลือเด็กไม่รำคาญเด็กแม้เด็กจะเข้ามาขอความช่วยเหลือด้วยปัญหาซ้ำๆ
-                  สามารถให้แรงเสริมเด็กได้อย่างถูกวิธี
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจจดเนื้อหาที่มีเพิ่มเติมและมีความสนุกสนานในการเรียน
ประเมินเพื่อน ส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา คุยกันบ้างเล็กน้อย และเพื่อนร่วมกันตอบคำถามและทำกิจกรรมตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา วันนี้เนื้อหาเยอะไปนิดนึงทำให้รีบอธิบายแต่การเรียนการสอนก็เป็นไปด้วยความสนุกนานดีค่ะ

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผุ้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 3 เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.2558 ครั้งที่ 4


 วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดราชการ

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผุ้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 27 มกราคม พ.ศ.2558 ครั้งที่ 3


ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้เรียนเรื่อง “บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม” แต่ก่อนเรียนอาจารย์มีกิจกรรมให้ทำให้วาดภาพเหมือนจริงของดอกทานตะวันโดยอาจารย์ย้ำว่าต้องวาดให้เหมือนจริงมากที่สุด...

ผลงานของหนู....
 


พอทำเสร็จอาจารย์ให้บอกความรู้สึกขณะที่วาดดอกทานตะวันว่าเห็นอะไรในภาพบ้าง "หนูได้อธิบายว่าเห็นภาพนี้แล้วรู้สึกสดชื่น สดใส มีกำลังใจพร้อมที่จะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ" จากนั้นอาจารย์ก็เชื่อมโยงกิจกรรมเข้ากับเรื่องที่สอนโดยบอกว่าในการสังเกตเด็กเราไม่ควรใส่ความรู้สึกของเราลงไปบันทึกพฤติกรรมเด็กตามที่เราเห็น 
เข้าสู่เนื้อหาวันนี้......

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
- การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
- จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
- ยกหน้าที่ให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
   จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เด็กจะเกิดปมด้อยและเกิดคำถามในใจว่าทำไมครูไม่เรียกชื่อเราเหมือนเพื่อนคนอื่น

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
พ่อแม่ของเด็ก มักจะทราบว่าลูกของเขามีปัญหา ไม่ต้องการให้มาย้ำในสิ่งที่เขารู้แล้ว ตัวครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก ควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะพัฒนา และห้ามเอาจุดด้อยของเด็หไปบอกพ่อแม่

ครูทำอะไรบ้าง
 ที่สำคัญๆ คือ สังเกตเด็กอย่างมีระบบและจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
  ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครูเพราะครุนั้นอยู่กับเด็กทั้งวันทุกๆวันซึ่งต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ้งสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรพึงระวัง
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
   - ลำดับความสำคัญให้ดี
   - เลือกความสำคัญของปัญหาที่พบเด็กและแก้ให้ตรงจุด
   - อย่าจี้เด็กทุกเรื่อง
   - เรื่องที่มองข้ามได้คำพฤติกรรมที่เด็กไม่ได้ทำประจำ
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
1.การนับอย่างง่ายๆ
   นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่ครั้งในแต่ละวัน ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
2. การบันทึกต่อเนื่อง(มีคุณภาพมากที่สุด)
  ให้รายละเอียดได้มาก ทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีบันทึกแบบบรรยาย บันทึกตามสภาพจริง 
3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
  บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ความเอาใจใสถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป้นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเขาหรือไม่ 

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- นำบทบาทของครูที่ได้ความรู้ในวันนี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องในอนาคต
- การสังเกิดเด็กต้องสังเกตตามสภาพจริงไม่ควรใส่ความรุ้สึกของเราลงไป

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลาและต้องใจวาดรูปทำกิจกรรม ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและจดความรู้เพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน  ส่วนมากเข้าเรียนตรงเวลา คุยกันบ้างบางกลุ่มแต่เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมและตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ มีการเชื่อมโยงกิจกรรมเข้ากับเนื้อหาดีค่ะ ทำให้การเรียนไม่เครียดสนุก และเนื้อหาก็เข้าใจง่ายอยากให้อาจารย์หากิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำก่อนเรียนเนื้อหาอีกค่ะเพราะมันเหมือนการผ่อนคลายสมองก่อนเตรียมรับความรู้ดีค่ะ




วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Inclusive Education Experiences Management For Early Childhood
อาจารย์ผุ้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 20 มกราคม พ.ศ.2558 ครั้งที่ 2


ความรู้ที่ได้รับ
            วันนี้เรียนเรื่อง “รูปแบบการจัดการศึกษา” ซึ่งสรุปเป็นความรู้ได้ดังนี้.....
รูปแบบการจัดการศึกษา 
-                   การศึกษาปกติทั่วไป(Regular Education)
-                   การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-                   การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-                   การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความตองการพิเศษ
  *** เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าหากเขาได้รับโอกาส***
 ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education Mainstreaming)
          เป็นการจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป เด็กพิเศษก็จะมาจากมูลนิธิต่างๆที่ติดต่อเข้ามา ทั้งนี้หลักสูตรการสอนก็จะไม่เปลี่ยน มีกิจกรรมให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปทำร่วมกัน อาจจะเข้ามาเรียนร่วมบางเวลา(Integration)หรือเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) ส่วนมากเด็กจะเข้ามาในช่วงกิจกรรมศิลปะหรือกิจกรรมเคลื่อนไหวรวมทั้งดนตรีด้วย
เป้าหมายของการเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
       ***เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่าง มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกับทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม(Inclusive Education)
         เป็นการศึกษาสำหรับทุกคน รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา ซึ่งจะต่างจากการศึกษาแบบเรียนร่วมที่จะเข้ามาแค่บางวัน
Wilson,2007 ได้ให้ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวมไว้คือ การเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusive)เป็นหลัก การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน (เด็กทั่วไปยอมรับเด็กพิเศษ เด็กพิเศษปรับตัวเข้ากับเด็กปกติ) การจัดกิจกรรมต้องคิดอย่างรอบคอบไม่ยากเกินไปสำหรับเด็กพิเศษไม่ง่ายเกินไปสำหรับเด็กปกติเพราะจำทำให้เด็กเบื่อกิจกรรมต้องไม่ไร้สาระจนเกินไป
  
Inclusive Education is Education for all,It involves receiving people at the beginning of education,with provision of additional services needed by each individual
   
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
-                   เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-                   เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
-                   เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
 **ข้อพึงระวัง***
-                   ห้ามยกจุดด้อยของเด็กขึ้นมาพูดอย่างเช่น การตั้งฉายา โดยเฉพาะกับเด็กพิเศษ
-                   ห้ามเด็กปกติล้อเด็กพิเศษ
-                   ถ้าโรงเรียนเปิดสอนแบบเรียนรวมโรงเรียนไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธเด็ก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-                   ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-                   สอนได้
-                   เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด    
-                   ต้องทำให้เด็กเรียนรู้ง่ายและไวให้เด็กพร้อมเรียนรู้มากที่สุด

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
-                   จัดการเรียนการสอนอย่างรอบตอบที่มีความเหมาะสมไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป
-                   นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
-                   ครูต้องทำความเข้าใจกับเด็กปกติ บอกให้ทราบ และให้ช่วยเหลือเพื่อนให้เด็กปกติยอมรับเพื่อน ๕รูต้องโน้มน้าวใจให้เด็กรักเพื่อน

ประเมินการเรียนการสอน
    
     ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา มีความพร้อมในการเรียน จดเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน

    ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา มีคุยกันบ้างเล็กน้อยและตั้งใจเรียนกันเป็นอย่างดี

    ประเมินอาจารย์  เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี อธิบายและยกตัวอย่างประกอบทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น